ภาษายาวี กับมลายู มีรากฐานแบบเดียวกันจะต่างกันที่สำเนียงบ้าง ซึ่งใช้หลายๆ พื้นที่บริเวณแหลมมลายูเช่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และตอนใต้ของฟิลิปปินส์ โดยจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Bahasa ตามด้วยประเทศ/ท้องถิ่น เช่น
Bahasa Malay, Bahasa Indonesia, Bahasa Yawi…… etc
ส่วนอักษรก็จะมีเขียน 2 แบบ คือ
ยาวี ที่เขียนคล้ายๆ ภาษาอาหรับ อาราบิกส์ จำพวกนั้น
รูมี่ เขียนแบบภาษาละติน โรมัน คือคล้ายภาษาอังกฤษนั่นเอง
อย่างเช่นคำว่า “กิน”
มาลายูสำเนียงใต้ จะพูดว่า “มาแก”
มาเลย์ตอนบนก็พูดว่า “มากัน”
มาเลย์ตอนล่าง กับอินโด บรูไนจะพูดว่า “มากานัน”
คำศัพท์ต่างๆ ของภาษายาวี
มากันนาซิ ลากี = กินข้าวหรือยัง
กีตอมากันเดาะห์ = เรากินแล้ว
อาดอ = มี
ตะเด๊าะ = ไม่มี
เนาะกาเจะดืองา…. = ขอพุดกับ….
อีบู ดัน บาเปาะ = แม่และพ่อ
กาวัน = เพื่อน
สวัสดีตอนเช้า = สลามัตปากี
สวัสดีตอนบ่าย = สลามัตปือตัง
สวัสดีตอนกลางคืน/ราตรีสวัสดิ์ = สลามัตมาลัม
ข้อมูลอ้างอิง
ภาษามลายูปัตตานี หรือ มลายูปาตานี หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี